Lustre File System

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรนี้ เป็นการศึกษาทฤษฎี และสร้างระบบไฟล์แบบคลัสเตอร์ เพื่อใช้งานกับระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการอ่านเขียนข้อมูลจำนวนมาก เนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การติดตั้ง การปรับแต่ง กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไขในการใช้งาน Lustre กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage) พร้อมทั้งการวัดประสิทธิภาพของ Lustre Fils System

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ ผู้ดูแลเว็บคลัสเตอร์ และผู้ที่สนใจ

วัตถุประสงค์

  1. เพื้อให้ผู้เข้าอบรมใจในหลักการทำงานของ Cluster File System
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประโยชน์ของการใช้งานและรูปแบบในการประยุกต์ใช้งานในงานประเภทต่าง ๆ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถติดตั้ง Cluster File System ด้วยซอฟต์แวร์ Lustre ได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการทำงานและองค์ประกอบต่าง ๆ ของ Lustre
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบระบบ Lustre ได้ การ Mount ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ทราบถึงปัญหาที่พบบ่อย ๆ

ความรู้พื้นฐาน

ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้ความสามารถในการติดตั้ง Linux Server หรือผ่านหลักสูตร Linux Administration มาก่อน และควรมีความเข้าใจเรื่องระบบเครือข่ายพื้นฐาน

รูปแบบการสอน

บรรยายและปฏิบัติการ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบเสมือน (Virtual Machine) เพื่อต่อเป็นระบบคลัสเตอร์

ซอฟต์แวร์ที่ใช้

  1. CentOS
  2. Lustre

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม

ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 GB และมีพื้นที่ว่าง (Disk space) ไม่น้อยกว่า 50GB มาในการอบรม พร้อมติดตั้ง VirtualBox และ VirtualBox Extension Pack และเปิดฟังก์ชั่น Virtualization ใน BIOS มาให้เรียบร้อยตามคู่มือ

เนื้อหาหลักสูตร

วันที่ 1

  • ระบบไฟล์แบบขนานคืออะไร
  • ประโยชน์ของการใช้งานและรูปแบบในการประยุกต์ใช้งานในงานประเภทต่าง ๆ
  • หลักการทำงานของ Cluster File System
  • ซอฟต์แวร์สำหรับไฟล์แบบขนานต่างๆ
  • รู้จักกับ Lustre File System
    • ที่ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ Lustre
    • เข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ ของ Lustre
  • ประสิทธิภาพของ Lustre File System
  • workshop: ทดลองสร้างระบบไฟล์ลัสเตอร์บนเครื่อง ๆ เดียว
  • หลักการออกแบบระบบ Lustre เพื่อรองรับระบบขนาดใหญ่
    • ประเภทของระบบเครือข่าย
    • การออกแบบบนหลายโหนด
    • workshop: ทดลองสร้างระบบไฟล์คลัสเตอร์บนเครื่องหลายเครื่อง

วันที่ 2

  • การใช้งานคำสั่งแบบ Low Level เพื่อตรวจตราและบริหารจัดการระบบ เช่นคำสั่ง lctl, lfs
  • การใช้ปรับแต่งไฟล์ /etc/fstab เพื่อให้ Lustre เริ่มทำงานตั้งแต่ตอนบูตระบบ
  • ลำดับการ Boot ของเครื่องในระบบ
  • การกำหนดโค้วต้าให้กับผู้ใช้บนระบบไฟล์ Lustre
  • การสำรองและค้นคืนข้อมูลบนระบบไฟล์ Lustre (Backup & Restore)
  • การทำ Failover บนระบบไฟล์ Lustre
  • การวัดประสิทธิภาพความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์
  • การติดตั้งและใช้งานระบบ Web Monitoring tools ด้วยซอฟต์แวร์ Ganglia
    • การใช้งานระบบ Web Monitoring
    • workshop: ติดตั้งระบบ Web Monitoring
  • ปัญหาที่พบบ่อย และการแก้ปัญหาเบื้องต้น
  • กรณีศึกษา
    • การออกแบบบนระบบคลัสเตอร์ขนาดใหญ่

หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อเรา

ติดต่อเรา