Rocks Cluster Administration
- ระยะเวลา: 12 ชั่วโมง (2 วัน)
- ราคา: 7,490 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
- รายละเอียดหลักสูตรรูปแบบ PDF
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรนี้ กล่าวถึงหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ เพื่อใช้ในงานประมวลสมรรถนะสูงทั้งในแบบ High Performance Computing และ High Throughput Computing โดยการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ และปฏิบัติการติดตั้ง ปรับแต่งระบบ รวมถึงการใช้งานเครื่องมือที่สำคัญอย่างเช่น Ganglia Web Monitoring และระบบจัดลำดับงาน Sun Grid Engine เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมแบบขนานขั้นพื้นฐานโดยใช้ MPICH
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ดูแลระบบลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่จะก้าวมาเป็นผู้ดูแลระบบลีนุกซ์คลัสเตอร์ นักวิจัย รวมถึงผู้ที่สนใจสร้างระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ขึ้นใช้งาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริการจัดการระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการทำงานของซอฟต์แวร์จัดลำดับงาน และบริหารจัดการตัวจัดลำดับงานเบื้องต้นได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการทำงานโปรแกรมแบบขนาน และนำไปทดสอบบนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ได้
ความรู้พื้นฐาน
ผู้เข้าอบรมต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร Linux Administrator หรือเป็นผู้ดูแลระบบที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลระบบ Linux Server และมีความรู้พื้นฐานการโปรแกรมด้วยภาษาซี
รูปแบบการสอน :
บรรยายและปฏิบัติการ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบเสมือน (Virtual Machine) เพื่อต่อเป็นระบบคลัสเตอร์
ซอฟต์แวร์ที่ใช้
- Rocks Clusters – http://www.rocksclusters.org/
- Sun Grid Engine / Open Grid Engine
- Ganglia Monitoring
- Povray , Blender
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม
ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 GB และมีพื้นที่ว่าง (Disk space) ไม่น้อยกว่า 50GB มาในการอบรม พร้อมติดตั้ง VirtualBox และ VirtualBox Extension Pack และเปิดฟังก์ชั่น Virtualization ใน BIOS มาให้เรียบร้อยตามคู่มือ
เนื้อหาหลักสูตร
วันที่ 1
เช้า
- รู้จักระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- ความเป็นมาของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- ประเภทการประมวลผลบนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- ระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ในโลกปัจจุบัน
- การออกแบบระบบคลัสเตอร์พร้อมตัวอย่างการออกแบบระบบขนาดใหญ่
- องค์ประกอบของระบบฮาร์ดแวร์
- สถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- พื้นฐานการออกแบบห้องคอมพิวเตอร์สำหรับระบบคลัสเตอร์ (Data Center)
- การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ (Hardware)
- วิธีการวัดประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- workshop 1: ประกอบระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- การติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- แนะนำซอฟต์แวร์ Rocks Cluster ที่ต้องใช้
- การติดตั้งและปรับแต่งเครื่อง Front-end และ Compute Nodes
- การติดตั้งเครื่อง Compute Node แบบอัตโนมัติ และเทคนิคการปรับแต่งค่าต่าง ๆ เช่น ติดตั้ง Package เพิ่มเติม การปรับขนาดพาร์ทิชั่นของเครื่อง Compute เป็นต้น
- การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ (Application Software) บนระบบคลัสเตอร์
- workshop 2: ติดตั้งระบบลีนุกซ์คลัสเตอร์
บ่าย
- การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- คำสั่งพื้นฐานและคำสั่งแบบขนาน
- หลักการทำงานของระบบ Ganglia Monitoring
- การใช้งานระบบ Ganglia Web Monitoring
- การมใช้งานคำสั่งคอมมานด์ไลน์ และเซอร์วิสที่เกี่ยวข้องกับ Ganglia
- workshop 3: การ Login ระยะไกล และใช้งานคำสั่งพื้นฐาน
- การบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- การจัดการบัญชีผู้ใช้ของระบบCluster
- การทำ Single Sign-on ด้วยPublic key (ล็อกอินครั้งเดียวเข้าได้ทั้งระบบ)
- เทคนิคการจัดการกับสิทธิ root ด้วยคำสั่ง sudo
- workshop 4: การเพิ่มบัญชีผู้ใช้ระบบ
วันที่ 2
เช้า
- การจัดการซอฟต์แวร์บนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- การติดตั้ง Application software บนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
- รูปแบบการติดตั้งซอฟต์แวร์ ตำแหน่งและความเหมาะสม
- การกำหนด Environment Script
- workshop 5: การติดตั้ง Application Software
- โปรแกรมแบบขนาน
- อธิบายการทำงานของโปรแกรมแบบขนาน
- MPI ชนิดต่าง ๆ ที่มากับซอฟต์แวร์ Rocks
- การพัฒนาโปรแกรมแบบขนานเบื้องต้นด้วย MPICH
- ตำแหน่งและคอนฟิกกูเรชั่นที่เกี่ยวข้องกับ MPICH
- workshop 6: การ Compile และ Run โปรแกรมแบบขนาน
- แนะนำเรื่องการวัดประสิทธิภาพเครื่องเบื้องต้น
- FLOPs, Rmax และRpeak
- ตัวอย่าง Application ที่มีการใช้งานบนระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์
บ่าย
- การบริหารจัดการตัวจัดลำดับงาน (Job Scheduler)
- แนะนำการทำงานของตัวจัดลำดับงาน Open Grid Engine (Sun Grid Engine)
- การใช้งานตัวจัดลำดับงานด้วยแบบคอมมานด์ไลน์ (CLI)
- การใช้งานตัวจัดลำดับงานด้วยแบบ GUI ด้วยโปรแกรม qmon
- การปรับแต่งและจัดการตัวจัดลำดับงาน
- การ Run โปรแกรมแบบขนานผ่านทางตัวจัดลำดับงาน
- workshop 7: การรัน MPIPovray ผ่าน SGE